สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
(Republic of Indonesia)
ข้อมูลพื้นฐาน
อาณาเขต
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) หรืออินโดนีเซีย เป็นประเทศหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตร ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนและทวีปออสเตรเลีย ทิศเหนือติดกับรัฐซาราวักและรัฐซาบาห์ของมาเลเซีย ทิศใต้ติดกับมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันออกติดกับปาปัวนิวกินีและมหาสมุทรแปซิฟิก และทิศตะวันตกติดกับช่องแคบมะละกาและมหาสมุทรอินเดีย มีพื้นที่ประมาณ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร (รวมทั้งส่วนที่เป็นแผ่นดินและผืนน้ำ) เป็นประเทศที่ให้ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งออกเป็น 5 เกาะใหญ่ คือ ชวา สุมาตรา กาลิมันตัน (บนเกาะบอร์เนียว) สุลาเวสี และอิเรียนจายา (ปาปัว)
ธงชาติ
ธงชาติอินโดนีเซีย พื้นธงแบ่งเป็นสองส่วนตามแนวนอน โดยสีต่าง ๆ ของธง มีความหมาย ดังนี้
1. สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และอิสรภาพ
2. สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ยุติธรรม
ภูมิอากาศ
ลักษณะอากาศแบบศูนย์สูตร ประกอบด้วย 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พฤษภาคม-ตุลาคม) และฤดูฝน (พฤศจิกายน-เมษายน) อินโดนีเซียมีฝนตกชุกตลอดปี แต่อุณหภูมิไม่สูงมากนัก เพราะพื้นที่เป็นเกาะจึงได้รับอิทธิพลจากทะเลอย่างเต็มที่
ภูมิประเทศ
อินโดนีเซียเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ 1,826,440 ตารางกิโลเมตร มีประมาณ 17,000 เกาะ พื้นที่กว่า 70% ไม่มีผู้คนอาศัย มีภูเขาสูงตามเทือกเขาที่มีความสูงมากอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ตามบริเวณเขามักมีภูเขาไฟและมีที่ราบรอบเทือกเขา ชายเกาะมีความสูงใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล ทำให้มีที่ราบบางแห่งเต็มไปด้วยหนองบึงใช้ประโยชน์ไม่ได้
ประเทศอินโดนีเซียมีหมู่เกาะหลัก 5 เกาะคือ อีเรียน (Irian), ชวา (Java), กาลิมันตัน (Kalimantan), สุลาเวสี (Sulawesi) และสุมาตรา (Sumatra) เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะสุมาตรา ส่วนเกาะชวาเป็นเกาะที่เล็กที่สุดในบรรดาเกาะหลักทั้ง 5 เกาะ แต่ประมาณ 60% ของประชากรกว่า 200 ล้านคน อาศัยอยู่บนเกาะนี้และเป็นที่ตั้งกรุงจาการ์ตาซึ่งเป็นเมืองหลวง หมู่เกาะเหล่านี้อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ชายฝั่งของประเทศอินโดนีเซียยาวประมาณ 2,600 กิโลเมตร และมีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซีย ปาปัวนิวกีนี และติมอร์ตะวันออก
ที่มา: https://th.wikipedia.org/wiki/ประเทศอินโดเนเซีย
เพลงชาติ
ชื่อเพลง : อินโดนีเซีย รายา (Indonesia Raya) แปลว่า “อินโดนีเซียอันยิ่งใหญ่”
เพลงชาติอินโดนีเซีย
Indonesia, tanah airku,
Tanah tumpah darahku.
Di sanalah aku berdiri,
Jadi pandu ibuku.
Indonesia, kebangsaanku,
Bangsa dan tanah airku.
Marilah kita berseru,
“Indonesia bersatul”
Hiduplah tanahku,
Hiduplah neg’riku,
Bangsaku, rakyatku, semuanya.
Bangunlah jiwanya,
Bangunlah badannya
Untuk Indonesia Raya.
(*ประสานเสียง)
Indonesia Raya, merdeka,
merdeka
Tanahku, neg’riku yang
kucinta.
Indonesia Raya, merdeka,
merdeka
Hiduplah Indonesia Raya.
(*ซ้ำ)
ตราแผ่นดิน
เมืองหลวง
จาการ์ตา (Jakarta)
ดอกไม้ประจำชาติ
กล้วยไม้ราตรี (Moon Orchid)
ระบบการปกครอง
การเมืองการปกครอง ปกครองแบบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย มีประธานธิบดีเป็นประมุขของรัฐและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ระบบเศรษฐกิจ สกุลเงิน อัตราแลกเปลี่ยน
เศรษฐกิจและทรัพยากรที่สำคัญในอดีตเศรษฐกิจของอินโดนีเซียพึ่งพาการส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก แต่หลังเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันใน
ตลาดโลกอินโดนีเซียจึงหันมาพัฒนาอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ การกลั่นน้ำมัน การต่อเรือ ประกอบรถยนต์ และการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้และแร่ธาตุต่างๆ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ดีบุก และเหล็ก
รวมทั้งมีภูมิประเทศที่เอื้อต่อการทำประมงจับสัตว์น้ำและทำเกษตรกรรม โดยปลูกพืชแบบขั้นบันได
สกุลเงิน คือ รูเปียห์ (Rupiah) ตัวย่อ IRD
อัตราแลกเปลี่ยนโดยประมาณ 300 รูเปียห์ = 1 บาท
ตลาดโลกอินโดนีเซียจึงหันมาพัฒนาอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ การกลั่นน้ำมัน การต่อเรือ ประกอบรถยนต์ และการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้และแร่ธาตุต่างๆ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ดีบุก และเหล็ก
รวมทั้งมีภูมิประเทศที่เอื้อต่อการทำประมงจับสัตว์น้ำและทำเกษตรกรรม โดยปลูกพืชแบบขั้นบันได
สกุลเงิน คือ รูเปียห์ (Rupiah) ตัวย่อ IRD
อัตราแลกเปลี่ยนโดยประมาณ 300 รูเปียห์ = 1 บาท
ประชากร
ประมาณ 251.5 ล้านคน (พ.ศ. 2557) ส่วนใหญ่เป็นชาวชวา
ภาษาประจำชาติ
ภาษาราชการ คือ ภาษาอินโดนีเซีย (Bahasa Indonesia)
การทักทาย ทักทายกันด้วยการยื่นมือทั้ง 2 ข้างมาสัมผัสกัน เรียกว่า “สลาม” ซึ่งเป็นการทักทายของศาสนาอิสลามยกเว้นผู้ชายกับผู้หญิงที่ไม่ควรสัมผัสมือกัน
คำศัพท์ทั่วไป (Common expressions)
คำศัพท์ | ภาษาอินโดนีเซีย | คำอ่านภาษาอินโดนีเซีย | คำแปล |
Good morning | Selamat pagi | ซาลามัต ปากี | สวัสดีตอนเช้า |
Good afternoon | Selamat siang/sore | ซาลามัตเซียง/ซาลามัตซอ | สวัสดีตอนกลางวัน |
Good evening | Selamat malam | ซาลามัต มาลัม | สวัสดีตอนเย็น |
Good night | Selamat malam | ซาลามัต มาลัม | ราตรีสวัสดิ์ |
Bon appetite | Selamat makan | ซาลามัต มากัน | ทานให้อร่อยนะ |
How are you? | Apa kabar? | อปา กาบา | สบายดีไหม |
(I'm) fine | (Saya) baik | ซายา ไบ | สบายดี |
I'm from Thailand | Saya dari Thailand | ซายา ดราริ ไทยแลนด์ | ผมมาจากประเทศไทย |
I can't speak Bahasa | Saya tidak bisa bahasa Indonesia | ซายา ติกา บิซา บาฮัลซา อินโดนีเซีย | ฉันพูดอินโดนีเซียไม่ได้ |
Thank you | Terima kasih | เตอริมา กาซิน | ขอบคุณ |
You're welcome | Sama-sama | ซามา ซามา | ไม่เป็นไร |
Please | Silahkan | ซิลากัน | โปรด / กรุณา |
Please sit down | Silahkan duduk | ซิลากัน ดุดู่ | โปรด / กรุณานั่งลง |
Please come in | Silahkan masuk | ซิลากัน มาซุ | โปรด / กรุณาเข้ามาข้างใน |
Welcome | Selamat datang | ซาลามัต ดาตัง | ยินดีต้อนรับ |
Good bye | Selamat tinggal/jalan | ซาลามัต ตริงกา ซาลามัต ยาลัน | ลาก่อน |
Take care | Hati-hati | ฮาตี ฮาติ | ดูแล |
See you (later) | Sampai jumpa (lagi) | ซัมไป่ จุมลา ซัมไป่ ล่ากี่ | แล้วพบกันใหม่ |
My name is... | Nama saya... | นามา ซายา | ชื่อของฉันคือ |
Sorry | Maaf | แมท | ขอโทษ |
What | Kapan | กาปา | อะไร |
Why | Mengapa | มังกาปาท | ทำไม |
Where | Di mana | ดิ มานา | ที่ไหน |
How | Bagaimana | บาไก๋มานา | อย่างไร |
ตัวเลข=Number
ตัวเลข | คำพูดภาษาอินโดนีเซีย |
0 | kosong |
1 | satu |
2 | dua |
3 | tiga |
4 | empat |
5 | lima |
6 | enam |
7 | tujuh |
8 | delapan |
9 | sembilan |
10 | sepuluh |
11 | sebelas |
12 | duabelas |
17 | ?? |
20 | duabelas |
60 | ?? |
100 | seratus |
1,000 | seribu |
2,000 | duaribu |
1,800 | ?? |
75.000 | ?? |
ชุดประจำชาติ
เคบาย่า (Kebaya) เป็นชุดประจำชาติ
หญิง สวมเสื้อ “คาบาย่า” เสื้อแขนยาว คอแหลม ผ่าหน้าอกเข้ารูปยาวปิดสะโพก ปักฉลุลายลูกไม้ เข้ากับผ้าถุง ที่เป็นผ้าพื้นเมืองที่เรียกว่า “ปาเต๊ะ” หรือ “บาติก” โดยมีผ้าคล้องคอยาว และสวมรองเท้าแตะหรือส้นสูงแบบสากล
หญิง สวมเสื้อ “คาบาย่า” เสื้อแขนยาว คอแหลม ผ่าหน้าอกเข้ารูปยาวปิดสะโพก ปักฉลุลายลูกไม้ เข้ากับผ้าถุง ที่เป็นผ้าพื้นเมืองที่เรียกว่า “ปาเต๊ะ” หรือ “บาติก” โดยมีผ้าคล้องคอยาว และสวมรองเท้าแตะหรือส้นสูงแบบสากล
ชาย สวมเสื้อแบบบาติก คอปิด สวมหมวกคล้ายหมวกหนีบ นุ่งกางเกงขายาว หรือโสร่งสีและลวดลายเข้ากับหมวกสวมรองเท้าแตะหรือรองเท้าหุ้มส้น หากเข้าพิธีสำคัญจะเหน็บกริชด้วย ซึ่งวิธีแต่งกายจะแตกต่างกันไปตามแต่ละเกาะ
สัตว์ประจำชาติ
มังกรโคโมโด
ศาสนา
ศาสนาอิสลาม
ศิลปะ (art show)
วายัง ปูร์วา (Wayang Purwa)
วายัง ปูร์วาเป็นวัฒนธรรมการเชิดหุ่นเงาที่เก่าแก่ของอินโดนีเซีย ตัวหุ่นทำจากหนัง มีดวกไฟอยู่ใกล้ ๆ กับจอที่ทำจากผ้า เงาของหุ่นจะสะท้อนกับแสงไฟแล้วปรากฏภาพขึ้นบนจอ
ระบำบารอง อินโดนีเซีย
ระบำบารอง (Barong Dance) : ละครพื้นเมืองดั้งเดิมของเกาะบาหลี มีการใช้หน้ากากและเชิดหุ่นเป็นตัวละคร โดยมีการเล่นดนตรีสดประกอบการแสดง เป็น
เรื่องราวของการต่อสู้กันของ บารอง คนครึ่งสิงห์ ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายความดีกับรังดา พ่อมดหมอผีตัวแทนฝ่ายอธรรม โดยฝ่ายธรรมะจะได้รับชัยชนะในที่สุด
ผ้าบาติก อินโดนีเซีย
ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าปาเต๊ะ : เป็นผ้าพื้นเมืองของอินโดนีเซีย ที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีและใช้วิธีการแต้มระบาย หรือ ย้อมใน
ส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกนิยมใช้เป็นเครื่องแต่งกายของหนุ่มสาว โดยใช้เป็นผ้าโพกศีรษะชาย ผ้าคลุมศีรษะหญิง ผ้าทับกางเกงชาย และโสร่ง หรือผ่าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว ซึ่งส่วนที่เรียกว่า "ปาเต๊ะ" คือ ส่วนที่ต้องนุ่งให้ตรงกับสะโพก โดยมีลวดลายสีสัน ต่างไปจากส่วนอื่น ๆ ในผ้าผืนเดียวกันนั่นเอง
ที่มา : http://library.sut.ac.th/asean_data/?m=data&country_id=3&category_id=11
งาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น